เมนู

ความแก่งแย่ง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความทุ่มเถียง สมจริงตามที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้
ย่อมไม่โต้เถียง ไม่วิวาทกับใคร ๆ สิ่งใดที่เขากล่าวกันในโลก ก็กล่าว
ตามสิ่งนั้น มิได้ถือมั่น. ชื่อว่าชันตุชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล
ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ในโลก คือในอบาย-
โลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน . . .ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว
ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่
ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก
ดังนี้.

จบจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ 12

อรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ 12


พึงทราบวินิจฉัยในจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ 12 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สกํ สกํ ทิฏฺฐิปรินิพฺพาสนา สมณพราหมณ์บางพวกมี
ความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ. ในมหาสมัยนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสพระสูตรแม้นี้ เพื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก
ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิเหล่านี้ทั้งหมดถือว่า เราเป็นผู้ดี

สมณพราหมณ์เหล่านั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิของตนเท่านั้น จึงเป็นผู้ดีหรือ หรือว่า
ถือเอาทิฏฐิอย่างอื่นด้วย จึงทรงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์. ใน
พระสูตรนั้น สองคาถาข้างต้น เป็นคาถาถาม.
ในคาถาเหล่านั้น บทว่า สกํ สกํ ทิฏฺฐิปริพฺพาสนา คือ สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายอยู่ด้วยทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า วิคฺคยฺห นานา กุสลา
วทนฺติ
อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่าง ๆ คือถือทิฏฐิอย่างแรง ปฏิญาณว่า
เราเป็นผู้ฉลาดในทิฏฐินั้น พูดมาก ไม่พูดครั้งเดียว. บทว่า โย เอวํ
ชานาติ ส เวทิ ธมฺมํ อิทํ ปฏิกฺโกสมเกวลี โส
บุคคลใดรู้อย่างนี้
บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายัง
เป็นผู้ไม่ใช่บริบูรณ์ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า บุคคลใด
รู้อย่างนี้หมายถึงทิฏฐินั้น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม แต่ถ้าบุคคลใดคัดค้านธรรม
นี้ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นคนเลว ดังนี้.
บทว่า นานา วทนฺติ คือ พูดเหตุต่าง ๆ กัน. บทว่า วิวิธํ วทนฺติ
คือ พูดหลาย ๆ อย่าง. บทว่า อญฺโญญฺญํ วทนฺติ พูดอย่างอื่นๆ คือไม่
พูดอย่างเดียวพูดจับโน่นจับนี่. บทว่า อเกวลี โส บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็น
ผู้ไม่บริบูรณ์ คือไม่ฉลาด. บทว่า อสมฺตโต คือ ไม่บริบูรณ์. บทว่า
อปริปุณฺโณ คือ ไม่ครบถ้วน.
บทว่า พาโล คือ คนเลว. บทว่า อกุสโล คือ ไม่ฉลาด.
ต่อไปนี้เป็นคาถาแก้สามคาถา. คาถาเหล่านั้นรวบรวมความที่กล่าว
ไว้โดยคาถาก่อน ด้วยคาถาหลังตั้งไว้ พระสูตรนี้จึงได้ชื่อว่า จูฬวิยูหสูตร
เพราะมีความน้อยกว่าสูตรก่อน ด้วยการรวบรวมนั้น.

ในคาถาเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หนึ่งก่อน. บทว่า ปรสฺส
เจ ธมฺมํ
ธรรมของคนอื่น คือทิฏฐิของคนอื่น. บทว่า สพฺเพปิเม พาลา
สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นคนพาล อธิบายว่า เมื่อเป็นอย่างนี้
สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นจึงเป็นพาล. เพราะอะไร เพราะสมณ-
พราหมณ์ทั้งหมดเหล่านี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ.
บทว่า สนฺทิฏฺฐิยา เจ ปน เววทาตา สํสุทฺธปญฺญา กุสลา มตีมา
ความว่า ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์ เป็นผู้ผ่องแผ้ว หมดจด ไม่เศร้าหมอง
เพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจด เป็นผู้ฉลาด มีความรู้. บทว่า
น เตสํ โกจิ ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น
จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมแม้แต่คนเดียว. เพราะอะไร เพราะทิฏฐิเป็น
ธรรมชาติอันสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์เหมือนอย่างสมณ-
พราหมณ์พวกอื่น.
พึงทราบเนื้อความสังเขปแห่งคาถาว่า น วาหเมตํ ดังนี้ คนคู่
คือชนสองคนเหล่านั้น กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้า-
พระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าเป็นจริง เป็นของแท้. เพราะอะไร เพราะ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง
สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. เพราะเหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่น
ว่าเป็นพาล.
ก็ในบทนี้มีปาฐะสองอย่าง คือ ตจฺฉํ ตถวํ. บทว่า ตจฺฉํ คือ
ไม่เปล่า. บทว่า ตถวํ จริง คือไม่วิปริต. บทว่า ภูตํ เป็นจริง คือมีอยู่.
บทว่า ยถาวํ เป็นตามจริง คือมีอยู่พร้อม. บทว่า อวิปรีตํ ไม่วิตก
คือไม่ผิดสังเกต.

ในคาถาที่เป็นคำถามว่า ยมาหุ คือ สมณพราหมณ์บางคนกล่าว
ทิฏฐิสัจจะใดว่าจริงแท้ พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำตอบว่า เอกํ หิ สจฺจํ
สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น คือนิโรธหรือมรรค. ทว่า ยสฺมึ ปชา โน
วิวเท ปชานํ
คือ หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน. บทว่า สยํ กุนนฺติ
อวดไปเอง คือ กล่าวด้วยตนเอง.
พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำถามว่า กสฺมานุ เพราะเหตุไรหนอ.
บทว่า ปวาทิยาเส คือ พูดอวดอ้าง. บทว่า เต ตกฺกมนุสฺสรนฺติ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นระลึกตรึกเอาเอง คือสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูดเอาเอง
หรือไปตามเพียงความตรึกของตนเอง. บทว่า ตกฺกปริยาหฏํ รวบรวม
ไว้ด้วยความตรึก คือตรึกเอาเอง. บทว่า วิมํสานุจริตํ ที่ตนคิดกันด้วย
ความพิจารณา คือคิดด้วยปัญญาอันเข้าไปปรากฏแก่ตน. บทว่า สยํ
ปฏิภาณํ
คือ รู้ด้วยตนเอง.
พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำตอบว่า น เหว มิได้มีเลย ดังนี้.
บทว่า อญฺญตฺร สญฺญาย นิจฺจานิ เว้นสัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญา คือ
เว้นจากการยึดถือว่าเที่ยงเพียงสัญญา. บทว่า ตกฺกญฺจ ทิฏฺฐีสุ ปกปฺป-
ยิตฺวา
ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย คือเพียงความดำริเป็นนิจของตนให้
เกิดในทิฏฐิทั้งหลาย. ก็เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลายยังความตรึกในทิฏฐิ
ทั้งหลายให้เกิด แม้ยังทิฏฐิให้เกิดอีก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
คำมีอาทิว่า สมณพราหณ์ทั้งหลายยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม.
บทว่า ชเนนฺติ ให้เกิด คือยังทิฏฐิให้เกิดสูงขึ้นๆ ชื่อว่าให้เกิด. บทมี
อาทิว่า สญฺชเนนฺติ ให้เกิดพร้อม ท่านเพิ่มบทอุปสัคขึ้นกล่าว. บทว่า
มยฺหํ สจฺจํ คือ คำพูดของเราจริง.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสัจจะต่างไม่มีอยู่ เพื่อจะทรงแสดง
ถึงการปฏิบัติผิดของพวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ ระลึกถึงเพียงความตรึก
จึงได้ตรัสคาถามีอาทิว่า ทิฏฺเฐ สุเต รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺเฐ อธิบายว่า รูปที่ได้เห็นเป็นความ
เห็นอันบริสุทธิ์. ในเสียงที่ได้ฟังเป็นต้นก็มีดังนี้. บทว่า เอเต จ นิสฺสาย
วิมานทสฺสี
เป็นผู้แสดงอารมณ์ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ
แสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม อันได้แก่ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ เพราะอาศัย
ธรรมคือทิฏฐิเหล่านี้. บทว่า วินิจฺฉเย ฐตฺวา ปหสฺสมาโน พาโล ปโร
อกุสโลติ จาห
ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ กล่าวว่าคนอื่นว่า
เป็นคนพาลไม่ฉลาด ความว่า แม้แสดงความดูหมิ่นอย่างนี้ ก็ยังตั้งอยู่ใน
ทิฏฐิที่วินิจฉัยนั้น (คือวินิจฉัยด้วยทิฏฐิ) เป็นผู้ยินดี ร่าเริง กล่าวอย่างนี้
ว่าคนอื่นเลวและโง่ ดังนี้.
บทว่า นสมฺมาเนตีติปิ วิมานทสฺสี เจ้าทิฏฐินั้นไม่นับถือแม้เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงความดูหมิ่น คือไม่ทำการนับถือมาก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น คือไม่แสดงความนับถืออย่างมาก.
บทว่า โทมนสฺสํ ชเนตีติปิ ยังความโทมนัสให้เกิด ความว่า ยังความ
โทมนัสให้เกิดในเวลาที่ติดแน่นซึ่งทิฏฐิวินิจฉัยก่อน แล้วได้ความโสมนัส
ภายหลังจึงตั้งอยู่ในทิฏฐิวินิจฉัย. บทว่า วินิจฺฉิตทิฏฺฐิยา ฐตฺวา ตั้งอยู่
ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว คือตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ลงความเห็นถือเอาแล้ว. พึง
ทราบคาถาว่า เยเนว เป็นต้นดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สยมตฺตนา คือ ด้วยตนเอง. บทว่า วิมาเนติ

ดูหมิ่น คือติเตียน. บทว่า ตเทว ปาวา คือ พูดคำนั้น ทิฏฐินั้น
หรือบุคคลนั้น.
พึงทราบความแห่งคาถาว่า อติสารทิฏฺฐิยา ทิฏฐิล่วงแก่นสาร
เป็นต้นดังนี้. เจ้าทิฏฐินั้นมีความถือด้วยเต็มที่อย่างนี้ว่า เราสมบูรณ์ บริบูรณ์
พองด้วยความพองอันเป็นทิฏฐิล่วงสาระ ล่วงสาระอันเป็นลักษณะอย่างนี้
และสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยทิฏฐิมานะนั้นสิ้นเชิง. อภิเษกตนเองด้วยใจว่า
เราเป็นบัณฑิต. เพราะอะไร. เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น
ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สพฺพา ทิฏฺฐิโย ลกฺขณาติกฺกนฺตา ทิฏฐิทั้งปวงล่วงลักษณะ
คือทิฏฐิ 62 ทั้งหมดเหล่านั้นล่วงลักษณะ. บทว่า อติยนฺติ ก้าวล่วงแล้ว.
บทว่า อโนโม คือ ไม่บกพร่อง.
พึงเชื่อมความคาถาว่า ปรสฺส เจ แห่งบุคคลอื่นดังนี้. อนึ่ง มี
ความอะไรที่ยิ่งไปอีก มีดังนี้ เจ้าทิฏฐินั้นตั้งอยู่ในวินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่
กล่าวว่าคนอื่นเป็นพาลไม่ฉลาด. ก็หากว่า บุคคลนั้นกล่าวว่าเลวเพราะคำ
ของคนอื่นนั้น. บทว่า ตุโม สหา โหติ นิหีนปญฺโญ บุคคลนั้นย่อม
เป็นคนมีปัญญาทราม พร้อมด้วยบุคคลอื่นนั้น คือบุคคลแม้นั้นย่อมเป็น
ผู้มีปัญญาทรามพร้อมด้วยบุคคลนั้น แม้เขาจะพูดว่าบุคคลนั้นเป็นพาล.
เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้อยคำของเขาเอาประมาณไม่ได้. แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ถึง
เวท เป็นธีรชนด้วยตนเอง. เมื่อเป็นอย่างนั้นใคร ๆ ในบรรดาสมณ-
พราหมณ์ย่อมไม่เป็นคนพาล เพราะทั้งหมดเหล่านั้นเป็นบัณฑิตตามความ
ปรารถนาของตน. บทว่า วาจาย คือ เพราะคำ. บทว่า วจเนน คือ
เพราะถ้อยคำ. บทว่า นินฺทิตการณา คือ เพราะเหตุนินทา. บทว่า

ครหิตการณา คือ เพราะเหตุติเตียน. บทว่า อุปวทิตการณา คือ เพราะ
เหตุค่อนว่า.
พึงทราบการเชื่อมและความของคาถาว่า อญฺญํ อิโต ธรรมอื่นจาก
ธรรมนี้ต่อไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงเวทเป็น
ธีรชนเอง ใคร ๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ย่อมไม่มีคนพาลดังนี้ พึงมี
คำถามว่า เพราะเหตุ เพื่อใคร ๆ. ในข้อนั้นขอตอบว่า เพราะชนเหล่าใด
ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่ง
ความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนั้นโดย
ทิฏฐิมาก คือชนเหล่าใดย่อมสรรเสริญทิฏฐิอื่นจากทิฏฐินี้ ชนเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ฉลาด คือล้มเหลวทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ฉะนั้น
ท่านอธิบายว่า เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวอย่างนี้. หากถามว่า เพราะเหตุไร
จึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วย
ความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน.
บทว่า เต สุทฺธิมคฺคํ ทางแห่งความหมดจด คืออัญญเดียรถีย์
เหล่านั้น ย่อมพลั้งพลาด คลาด ทางอันไม่เศร้าหมอง. บทว่า วิสุทฺธิมคฺคํ
ทางแห่งความหมดจดวิเศษ คือทางที่ไม่มีโทษ. บทว่า ปริสุทฺธิมคฺคํ
ทางแห่งความหมดจดรอบ คือทางแห่งธรรมขาว. บทว่า โอทาตมคฺคํ
ทางแห่งความผ่องแผ้ว คือทางผ่องใส. บทว่า ปริโยทาตมคฺคํ ทาง
ผ่องแผ้วรอบ คือทางมีแสงสว่าง. บทว่า วิรทฺธา พลั้ง คือพลั้งจากทาง
ที่กล่าวแล้วดำรงอยู่. บทว่า อปรทฺธา พลาด คือพลาดไปแล้วดำรงอยู่.
บทว่า ขลิตา คลาด คือเสื่อม. บทว่า คลิตา เคลื่อน คือตกจากที่นั้น.
บทว่า อญฺญาย คือ ด้วยไม่รู้. บทว่า อปรทฺธา พลาด คือถึงความปราชัย.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ญายาปรทฺธา บ้าง ความว่า พลาดจากทางที่ควรรู้
พวกเดียรถีย์ยินดียิ่งอย่างนี้.
พึงทราบคาถาว่า อิเธว สุทฺธึ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจด
ว่ามีในธรรมนี้เท่านั้น ดังต่อไปนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สกายเน คือ
ในทางของตน. บทว่า ทฬฺหํ วทานา กล่าวยืนยัน คือกล่าวหนักแน่น.
บทว่า ถิรวาทา กล่าวมั่นคง คือกล่าวลงความเห็น. บทว่า พลิกวาทา
คือ กล่าวแข็งแรง. บทว่า อรฏฺฐิตวาทา กล่าวเที่ยงแท้ คือกล่าวด้วย
ความมั่นใจ.
บรรดาเดียรถีย์ผู้วาทะมั่นคงอย่างนี้ เดียรถีย์คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้
พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นพาล
ในเพราะทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ผู้พูดยืนยันว่านี้เท่านั้นจริง ใน
ทางดำเนินของตน อันมีอาทิว่าโดยสังเขป ได้แก่ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉท-
ทิฏฐิ โดยพิสดาร ได้แก่ นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) อเหตุกทิฏฐิ
(ความเห็นว่าหาเหตุมิได้) อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอัน ทำ) พึง
เห็นใครอื่นโดยธรรมร่วมกัน ว่าเป็นคนพาลในทิฏฐินี้ แม้เดียรถีย์ทั้งหมด
ก็เป็นบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติชอบตามความเห็นของเขามิใช่หรือ เมื่อเป็น
อย่างนี้ เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่น ว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็น
ธรรมดา พึงนำมาซึ่งความบาดหมางกันเอง เพราะเจ้าทิฏฐินั้นกล่าวคน
อื่นว่า ผู้นี้เป็นพาล และมีธรรมไม่บริสุทธิ์ พึงนำความทะเลาะมาด้วย
ตนเอง. เพราะเหตุไร. เพราะเจ้าทิฏฐิทั้งหมดก็เป็นบัณฑิตเหมือนกัน
และเป็นผู้ปฏิบัติชอบเหมือนกัน ตามความเห็นของเขา.

แม้ในบททั้งหมดพึงทราบอย่างนี้ว่า เจ้าทิฏฐินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตก
ลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาทในโลกยิ่งๆ ขึ้นไป. ก็สัตว์ครั้น
รู้โทษในทิฏฐิที่ตกลงใจอย่างนี้แล้ว ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงด้วยอริย-
มรรค ไม่ทำความบาดหมางกันในโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ
เทศนาด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัต.
บทว่า สยํ ปมาย คือ นับถือตนเอง บทว่า ปมินิตฺวา คือ ทำการ
คาดคะเน. ปาฐะว่า ปจินิตฺวา บ้าง บทนั้นไม่ดี. บทว่า อุทฺธํ วาเทน
สทฺธึ
คือ ทำความทุ่มเถียงกับบุคคลอื่นผู้กล่าวในข้างหน้าของตน.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้ตรัสรู้ธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในปุราเภทสูตร
นั่นแล.
จบอรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ 12

มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ 13


ว่าด้วยทิฏฐิ


[601] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สมณพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้
แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว ย่อม
ถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น.

[602] คำว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง
ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เหล่า
ใดเหล่าหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิ
ความว่า มีสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ 62 อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบ
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิต
ผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส
ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้มีความ
อยู่รอบในทิฏฐิ.
[603] คำว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง ความว่า ย่อมกล่าว
บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อม
กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่